ยุคหลังพระนคร (พ.ศ. 1975-ปัจจุบัน) ของ ศาสนาพุทธในประเทศกัมพูชา

ยุคหลังพระนครถือว่าเป็นยุคมืดของกัมพูชาด้วยเหตุผล ของความอ่อนแอทางการเมือง ภายในทำให้กัมพูชาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของไทย รัฐทางทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และเวียดนาม และทำให้กัมพูชาต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง ในยุคหลังพระนครนี้ พุทธศาสนาแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ได้เสื่อมถอยลงไป คงเหลือแต่พุทธศาสนาเถรวาท และกษัตริย์ในยุคนี้จึงได้นับถือพระพุทธศาสนาเรื่อยมา กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498 [3]

อุดงค์

ประเทศกัมพูชาในตอนต้นของยุคหลังพระนครได้สิ้นอำนาจลง เพราะได้เป็นเมืองขึ้นของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2137 ถึง พ.ศ. 2161 พอได้รับเอกราชจากไทย ก็เกิดปัญหาสงครามกับเวียดนามบ้าง กับไทยบ้าง สงครามภายในบ้าง เป็นเมืองขึ้นของไทย และ เวียดนามด้วย [4]

@ จ.ศ.1137 ครั้นถึงปีมแม 1137 (พ.ศ. 2318) สมเด็จพระนารายน์ราชาธิบดี ได้ทรงนิมนต์ให้พระมหาสังฆราช พระพรหมมุนี ชื่อหลง นำข้อความซึ่งเป็นทางพระราชไมตรีไปกราบทูลสมเด็จพระรามราชาที่เมืองกำปอด ขออัญเชิญให้เสด็จมาเสวยราชสมบัติ ณ บันทายเพ็ชรสืบไป ฯ [5]

@ ครั้นมหาสังฆราช ได้นำความไปถวายพระพรแก่สมเด็จพระรามราชาได้ทรงทราบแล้ว สมเด็จพระรามราชาก็เสด็จออกจากเมืองกำปอด เข้ามาประทับอยู่ที่พระราชวัง ณ เมืองบันทายเพ็ชร แล้วขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามว่าพระราชโองการ สมเด็จพระรามราชาธิราชบรมบพิตร ฯ [6]

พนมเปญ

เจดีย์วัดพนม จุดเริ่มต้นของ"พนมเปญ"ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนากัมพูชายุคใหม่

กษัตริย์กัมพูชาได้ละทิ้งราชธานีมหานคร ไปสร้างราชธานีใหม่ที่เมือง สรีสันธอร์ ต่อมา พ.ศ. 1975 ได้ย้ายไปสร้างราชธานีใหม่ที่พนมเปญ จนถึงในปัจจุบัน ตั้งแต่การสร้างราชธานีใหม่ เป็นต้นมา เป็นเวลา 400 ปี ประเทศกัมพูชาตกอยู่ในภาวะวิกฤต ทางสังคมอย่างรุนแรง ประชาชนทุกข์ยากมาก บ้านเมืองยับเยิน พระศาสนาเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากเกิดเรื่องภายใน มีการแย่งชิงราชสมบัติกัน ผู้คนล้มตายกันมากนครวัต นครธม ถูกปล่อยรกร้างอยู่ในป่า จนมี ชาวฝรั่งเศสไปพบเข้า ในปี พ.ศ. 2404 จึงได้ทำนุบำรุงรักษาอนุรักษ์ไว้ปี พ.ศ. 2384 พระเจ้าหริรักษ์รามาธิบดี ทรงเสวยราชย์ในกรุงอุดรเมียรชัย พระพุทธศาสนา กลับเจริญรุ่งเรืองอีก มีพระสงฆ์ชาวกัมพูชา เดินทางมาศึกษายัง กรุงเทพฯ กลับไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเขมร พระมหาวิมลธรรม (ทอง) ได้จัดการศึกษาของสงฆ์ไทยตั้ง “ศาลาบาลีชั้นสูง” ในกรุงพนมเปญ ได้แก่พุทธิกวิทยาลัยในปัจจุบัน จากนั้นเขมรก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเกือบ 100 ปี การศาสนาก็ไม่เจริญรุ่งเรือง ในปี พ.ศ. 2497 จึงได้เอกราชคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่าอาณาจักรกัมพูชาพ.ศ. 2498


วัดพนมสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นของพนมเปญ

พระบาทนโรดม สีหนุ

พุทธศตวรรษที่ 24 ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดจีน และใน พ.ศ. 2410 กัมพูชาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จนถึงปี พ.ศ. 2497 จึงได้อิสรภาพคืนมา และเรียกชื่อประเทศว่า พระราชอาณาจักรกัมพูชา มีเมืองหลวงชื่อ พนมเปญ มีกษัตริย์ครองราชย์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2483 พระนามว่า พระเจ้านโรดมสีหนุ พระเจ้านโรดมสีหนุสละราชสมบัติให้พระเจ้านโรดมสุรามฤตพระบิดาขึ้นครองราชแทน พระองค์มาตั้งพรรคการเมืองชื่อ สังคมราษฎร์นิยม และได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อพระบิดาสวรรคต จึงทรงเป็นประมุขรัฐโดยไม่ได้ครองราชย์ พระเจ้านโรดมสีหนุ ทรงคิดตั้งทฤษฎี พุทธสังคมนิยม โดยการปกครองที่ยึดหลักพุทธธรรมเป็นหลักในการบริหารประเทศ ในช่วงนี้ประเทศแถบเอเซียอาคเนย์กำลังอยู่ในภาวะการต่อสู้ ระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์ กับลัทธิประชาธิปไตย

พระสงฆ์เขมรหลายรูปได้มาศึกษาที่กรุงเทพ ฯ ได้นำแบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ไทยไปใช้ในกัมพูชา ทางด้านการศึกษาของสงฆ์ก็ได้นำแบบแผนไปจากประเทศไทย เช่น มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ ที่ตั้งขึ้นโดย เจ้านโรดมสีหนุ เรียกว่า “มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาพระสีหนุราช” มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี และโท ตามลำดับ

นายพล ลอนนอล/สงครามกลางเมือง (พ.ศ. 2513-2518)

พระเจ้านโรดมสีหนุ จึงถูกปฏิวัติโดย นายพลลอนนอล เมื่อปี พ.ศ. 2513 ได้เปลี่ยนราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นสาธารณรัฐเขมร นายพลลอนนอลได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกทางด้านศาสนาก็ได้ส่งเสริมทำนุบำรุงจากรัฐเป็นอย่างดี

พุทธศาสนาภายใต้ระบบเขมรแดง (พ.ศ. 2518-2522)

พ.ศ. 2518 กัมพูชาได้ถูกกลุ่มเขมรแดงโดยการนำของนายพลพอล พต ได้เข้ายึดครองกัมพูชา ปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์อย่างสุดโด่ง ได้บังคับขู่เข็ญประชาชนอย่างทารุณ ไร้ความเมตตาปราณี ประชาชนถูกสังหารประมาณ 2 ล้านคน ในนี้รวมทั้งพระภิกษุสามเณรด้วย พระพุทธศาสนาถูกล้มล้างโดยลัทธิคอมมิวนิสต์อีกด้วย

ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์แบบเวียดนาม (พ.ศ. 2522-2535)

พ.ศ. 2522 เวียดนามกับเขมรบางกลุ่มบุกเข้ายึดกัมพูชา และขับไล่เขมรแดงโดยการนำของพอล พต ออกไปสู่ป่าชายแดนไทย-กัมพูชา เวียดนามตั้งรัฐบาลหุ่นโดยนายเฮง สัมริน เป็นผู้นำประเทศ พ.ศ. 2523-2536 กลุ่มเขมรแดงและกลุ่มเขมรอีกหลายฝ่ายจับมือกันต่อสู้กับกองทัพเวียดนาม ไล่ทหารเวียดนามออกนอกประเทศได้สำเร็จ

พุทธศาสนาภายหลังการเลือกตั้งภายใต้องค์การ UTAC กับการเข้าสู่รูปแบบประชาธิปไตย (พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน)

พ.ศ. 2536 สหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ พร้อมกับการช่วยเหลือทางด้านการเงินอีก 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้มีการเลือกตั้ง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลขึ้นปกครองประเทศกัมพูชาอย่างถูกกฎหมาย ผลการเลือกตั้งพรรคฟุนซินเปคของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่ง พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซนได้คะแนนเป็นอันดับสอง เป็นผลให้รัฐบาลกัมพูชา เป็นรัฐบาลผสมโดยมีนายกรัฐมนตรี 2 คน คือ รณฤทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ส่วนกลุ่มเขมรแดงปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในการเลือกตั้ง และยังตั้งกำลังหน่วยรบอยู่ในป่าเช่นเดิม พ.ศ. 2539 กลุ่มเขมรแดงเริ่มแตกแยก ผู้นำหมายเลข 2 นายเอียง ซารี อดีตคู่เขยของพอล พต รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศของเขมรแดง ได้นำพรรคเขมรกลุ่มหนึ่งและทหาร 10,000 คน แปรพักตร์มาเข้าร่วมสวามิภักดิ์กับรัฐบาลนายฮุน เซน ตามกระแสข่าวนาย ฮุน เซน ยอมมอบผลประโยชน์จากเหมืองพลอยที่เมืองไพลิน อันมีมูลค่ามหาศาลนับอนันต์ให้ครอบครอง

ในส่วนพระพุทธศาสนาในช่วงนี้การเปิดเสรีให้พระหนุ่มเณรน้อยกลับมาบวชได้เสรี ซึ่งแต่เดิมในช่วงระหว่าง ค.ศ.1979-1980 ผู้ที่จะบวชส่วนใหญ่จะต้องมีอายุเกิน 50 ปี ภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของรัฐบาล รวมทั้งต้องมีพฤติกรรมและแนวนโยบายเทศน์สอนสนับสนุนรัฐบาลภายใต้การสนับสนุนของเวียดนาม เมื่อมีบุญพิธีใด ๆ จะต้องนำสิ่งของเครื่องใช้อันเป็นผลได้จากการทำบุญ สนับสนุนฝ่ายบ้านเมือง หรือทหารในขณะนั้น และที่สำคัญเมื่อพระบาทนโรดม สีหนุ ได้กลับมาครองราชย์ในสถานะพระมหากษัตริย์ พระองค์ได้นำพระพุทธศาสนานิกายธรรมยุติกนิกาย ฟื้นกลับมาอีกครั้ง นัยหนึ่งเป็นนิกายที่เคยมีในสังคมกัมพูชา หรืออีกนัยหนึ่งเป็นสมบัติของบรรพบุรุษ ที่ได้เคยทรงอุปถัมภ์และสนับสนุน นัยเดียวกันธรรมยุตินิกาย ได้กลายเป็นฐานสนับสนุนพรรคการเมือง Funcinpec อันมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ด้วยเช่นกัน